ผมบางเป็นสิ่งใคร ๆ ก็ไม่อยากเจอทั้งนั้น เพราะการที่มีผมน้อยผมบางนั้นทำให้เสียบุคลิกได้ และที่สำคัญอาจทำให้เสียความมั่นใจไปเลยก็มี ซึ่งอาการผมเริ่มบางนั้นเป้นผมต่อเนื่องมาจากอาการผมร่วง ดังนั้นหากเราไม่รีบแก้ไขละก็จากผมบางอาจจะลุกลามเป็นหัวล้านในอนาคตก็เป็นได้ ซึ่งเส้นผมของคนเรานั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ “เส้นผม” และ “รากผม” โดยมีส่วนประกอบอยู่ 2 ชนิดคือโปรตีนและเคราติน ที่คอยทำหน้าที่ดูแลเส้นผมจากสารต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน, ช่วยปกป้องเส้นผมจากแสงแดดเวลากลางวัน และยังเป็นสารอาหารหลักของเส้นผมอีกด้วย
สำหรับสาเหตุของอาการผมบางนั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยสรุปสาเหตุหลัก ๆ ได้ทั้งหมด 7 เหตุผลดังนี้
7 สาเหตุที่ทำให้ผมบาง
- กรรมพันธุ์ของคนเราที่แตกต่างกัน
สาเหตุแรกเป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นคือเรื่องของกรรมพันธุ์ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ชายมากกว่า เพราะว่าผู้ชายจะมีความไวต่อฮอร์โมนแอนโดรเจนมากกว่าผู้หญิง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นผมมีอายุสั้นกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้เกิดอาการผมร่วงจนกลายเป็นผมบาง โดยอาการจากกรรมพันธุ์ที่่านี้มักจะแสดงออกตั้งอายุ 18 ปีเป็นต้นไป พร้อมกับปริมาณผมร่วงจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ หากปล่อยไว้นาน ๆ จะทำให้ผมเริ่มบางไปเรื่อย ๆ จนอาจเกิดปัญหาศีรษะล้านได้ - สระผมบ่อยเกินไป และหวีผมทั้งที่ยังเปียก
สระผมมากไปก็ใช่ว่าจะดีต่อสุขภาพผม เพราะการสระผมถี่เกินไปทำให้หนังศีรษะแห้ง ส่งผลให้เกิดอาการตามมาหลายอย่างทั้ง ระคายเคือง รังแค จนสุดท้ายเกิดการผมร่วงที่เป็นสาเหตุของผมบางนั่นเอง ไม่ใช่แค่สระผมบ่อย ๆ เท่านั้น แต่การสระผมด้วน้ำอุ่นก็ไม่ดีเช่นกัน เพราะความร้อนจะทำให้เคราตินหลายไปจนทำให้เส้นผมอ่อนแอลงจนหลุดร่วง อีกปัจจัยหลังจากสระผมเสร็จก็คือการหวีผมทั้งที่ยังไม่แห้ง ทำให้ผมขาดร่วงได้ง่ายมากกว่าตอนแห้ง ดังนั้นควรรอให้ผมแห้งหมาด ๆ แล้วค่อยหวีจะดีที่สุด - ดัด ย้อม ทำสีผมบ่อยเกินไป
ข้อนี้อาจจะไม่ถูกใจสำหรับคนชอบจัดแต่งทรงผมซักเท่าไหร่ เพราะการหนีบผม หรือเป่าไดร์ด้วยความร้อน การทำสีผม และการดัดยืดผม เป็นสาเหตุในการทำร้ายเส้นผมโดยตรง ทำให้ผมแห้งเสีย ผมเปราะขาดง่าย และทำให้ผมแตกปลาย จนสุดท้ายทำำให้เกิดอาการผมร่วงผมบางตามมา ดังนั้นหากคุณเป็นคนชอบ ดัด ย้อม ทำสีบ่อย ๆ ควรมีการบำรุงผมให้มากกว่าปกติ และควรเว้นระยะการดัด ทำสี เพื่อให้เส้นผมได้รับการฟื้นฟู - ความเครียดสะสม
ความเครียดก็ส่งผลกับอาการผมร่งผมบางด้วยเหมือนกันแต่อาจจะไม่ได้ส่งผลต่อเส้นโดยตรง แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับเส้นผมต่าง ๆ ได้ เช่น โรคผมร่วงทั่วศีรษะ เพราะความเครียดเข้ากระตุ้นวงจรชีวิตผมเร็วขึ้นจนทำให้ร่วงมากกว่าปกติ, โรคดึงผม เป็นอาการแสดงออกถึงความเครียดด้วยการดึงผม และ โรคผมร่วงเป็นหย่อม เกิดจากความเครียดที่ไปทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ จนทำให้รูขุมขนเล็กลงจนเส้นผมผลิตขึ้นมาไม่ได้ - ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ
เกิดจากฮอร์โมนผิดปกติซึ่งมี 2 ฮอร์โมนหลัก ๆ คือ Dilydrotesterone ที่ปขับตัวกับเซลล์อื่น ๆ มากเกินไปทำให้มีอาการผมงอกขึ้นไม่ปกติ เกิดวงจรเส้นผมที่เร็วขึ้นมากจนกลายเป็นผมร่วง และ ฮอร์โมน Thyroid Stimulating ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณไขมันไม่ปกติ ทำให้ความชุ่มชื้นบนหัวลดลงทำให้เกิดอาการผมหลุดร่วงจนกลายเป็นผมบางเมื่อเวลาผ่านไป
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ ไม่ได้ทำลายอวัยวะสำคัญ ๆ ในร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปถึงระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งทำให้เส้นเลือดขาดความยืดหยุ่นจนทำให้การไหลเวียนเลือดแย่ตามไปด้วย เมื่ออวัยวะต่าง ๆ ไม่ได้รับเลือดเข้ามาไหลเวียนแบบปกติก็จะทำให้เซลล์ต่าง ๆ ที่ต้องรับแร่ธาตุจากเลือดแย่ลง รวมถึงเส้นผมเมื่อรากของผมไม่มีอาหารจำพวกเคราติน และรูขุมขนที่หนังศีรษะไม่แข็งแรงก็จะอาการผมร่วงจนกลายเป็นผมบางได้ - ผลข้างเคียงจากตัวยาบางชนิด
ยารักษาโรคบางชนิดหรือแม้กระทั่งในกระบวนการักษาโรคบางประเภทเองก็มีผลข้างเคียงคืออาการผมร่วงด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่ามีผลมาจากยาให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับยารักษาโรคที่ทานอยู่จะดีที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผมร่วงมากจนกลายเป้นผมบาง
วิธีการป้องกันแก้ไขไม่ให้ผมบาง
สำหรับคนที่เริ่มรู้ตัวว่าผมบางจาก 7 สาเหตุที่ LYO ได้แนะนำไปนั้นก็มีวิธีป้องกันแก้อาการผมบางอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสระผมให้ถูกวิธี ควรสระแบบวันเว้นวันและงดการขยี้ผมที่อาจทำให้เกิดแผลได้ ถัดมาคือการเลือแชมพูที่มีสารสกัดจากธรรมชาติไม่ใช้สาเคมีมากเกินไป สังเกตได้จากฉลากข้างขวด ส่วนกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดแต่งทรงผมนั้นควรที่จะมีเวลาให้ผมได้พักฟื้นตัวจากการ ดัด ยืด ทำสี นอกจากนั้นเรื่องอาหารการกินก็มีผลต่อเส้นผมเหมือนกัน คววรทานอาหารจำพวกผักใบเขียว อาหารทะเล และเนื้อสัตว์อย่างสม่ำเสมอ เพราะในอาหารเหล่าอุดมไปด้วยสารอาหารที่รางกายและเส้นผมต้องการ เช่น โปรตีน เหล็ก สังกะสี แคลเซียม ไบโอติน วิตามิน E คอลลาเจน เป็นต้น
และสุดท้ายเรื่องของความเครียดควรหาวิธีผ่อนคลายเมื่อเกิดอาการเครียดประจำวัน ใช้ชีวิตอย่างสมดุล พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่ได้ประโยช์จากการปรับตัวด้วยปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ร่างกายมีความสมดุลตามไปด้วย