สำหรับผู้ชายทุกคนอาการผมร่วงและผมบาง เป็นสิ่งที่มักเกิดขึ้นได้กับทุกคนในวัยประมาณหลัง 40 ปีขึ้นไป โดยในชีวิตประจำวันของทุกคนนั้นมักจะมีร่วงเป็นประจำทุกวันอยู่แล้วแต่จะอยู่ในประมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับประมาณเส้นผมทั้งหมดที่มีมากกว่า 80,000 – 1,200,000 เส้น แต่ถ้าหากวันใดวันหนึ่งผมร่วงมากเกินกว่า 30-50 เส้นต่อเนื่องกัน นี่อาจจะเป็นสัญญาบอกเหตุว่าคุณกำลังเผชิญกับสิ่งผิดปกติบางอย่างในร่างกายของคุณ แล้วอาการผมร่วงก่อนวันอันควรสำหรับคุณผู้ชายนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง ในวันนี้นี้เราจะอธิบายให้เข้าใจกันกับ 8 ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้ชายไทยผมร่วงก่อนวัยอันควร
ผมร่วงเกิดจากอะไรได้บ้าง?
อาการผมร่วงนั้นเกิดจาก 8 ปัจจัยหลัก ๆ ที่มาจากความผิดปกติอะไรบางอย่างของร่างกาย ซึ่งการเกิดผมร่วงมากกว่าปกตินั้นมักจะเป็นสัญญาเตือนหรืออาการเบื้องต้นของโรคบางอย่างดังนี้
1.ผมร่วงจากกรรมพันธุ์
อาการนี้พบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ได้รับสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ กรรมพันธุ์ลักษณะนี้ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ชายมากกว่า โดยจะเกิดขึ้นบริเวณกลางศีรษะบาง หรือส่วนของหน้าผากเถิดขึ้นไปบางแล้วแต่คน ส่วนของผู้หญิงมักจะเกิดขึ้นในวัยที่หมดประจำเดือนไปแล้ว
2.ผมหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว
อาการผมร่วงในข้อนี้เกิดขึ้นจากอะไร เกิดจากสภาวะที่ส่วนของการเจริญเติบโตเส้นผมหยุดทำงานชั่วคราว ซึ่งอาจเป็นภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปกติ อาจทำให้เส้นผมที่กำลังจะเติบโตต้องหยุดเจริญในทันที และด้วยการหยุดเติบโตจึงทำให้เส้นผมบางส่วนมีการหลุดร่วงมากกว่าปกติ โดยอาการที่มักทำให้เกิดผมร่วงในปัจจัยนี้ตัวอย่างเช่น การใช้ยารักษาโรคบางชนิด, เกิดภาวะเครียดอย่างรุนแรง, เป็นอาการหลังผ่าตัดใหญ่บางประเภท หรือแม้กระทั่งหลังคลอดก็อาจเกิดได้
3.ผมร่วงเป็นหย่อมแบบไม่ทราบสาเหตุ
เป็นอาการผมร่วงที่ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร ซึ่งลักษณะการร่วงมักจะร่วงเป็นเฉพาะจุด มีขอบเขตในการร่วงชัดเจน ตรงกลางวงนั้นจะเลี่ยนเตียนไม่มีผมขึ้นเลย แต่บางคนอาจพบเส้นผมงอกในบริเวณนั้น มากไปกว่านั้นบางคนเมื่อได้รับการรักษาแล้วแต่ยังกำเริบได้อีกด้วย
4.ผมร่วงจากการดึง-ถอน
เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องความเครียดสะสม โดยจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากจิตใต้สำนึกที่ต้องการระบายความเครียดออกมา ซึ่งการดึงผมก็เป็น 1 ในพฤติกรรมที่แสดงออกมานั่นเอง บางคนกว่าจะรู้ตัวก็ดึงผมจนแหว่งเป็นหย่อมไปเลย
5.ผมร่วงจากการเกิดเชื้อรา
จุดเริ่มต้นของเชื้อราเกิดขึ้นจากรังแคที่มีปริมาณเยอะเกินจนทำให้อุดตันรูขุมขนบนหนังศีรษะ มีผลทำให้ไขมันระบายออกทางรูขุมขนไม่ทันจนเกิดการอักเสบ จนลุกลามกลายเป็นแหละบ่มเพาะเชื้อรามากกว่าปกติ จนสุดท้ายเส้นผมอ่อนแอลงมากจนเกิดอาการผมร่วงได้ในที่สุด
6.ผมร่วงจากการดัด-ทำสีบ่อย
หากจะนึกถึงกิจกรรมอะไรที่ทำให้ผมเสียจนเกิดผมร่วงได้ละก็ การดัดผม ทำสีผมบ่อย ๆ เป็นกิจกรรมที่ส่งผลต่อเส้นผมโดยตรงเพราะจากการใช้สารเคมีต่าง ๆ การจัดแต่งผมด้วยความร้อนบ่อย เป็นต้นเหตุให้เส้นผมอ่อนแอลงมากกว่าปกติ เกิดการหัก เปราะบางและขาดร่วงได้ง่าย
7.ผมร่วงจากการใช้ยา-ฉายรังสี
การรักษาร่างกายบางประเภทก็มีส่วนต่อการเจริญเติบโตของและวงจรชีวิตของเส้นผมได้เช่นกัน โดยเฉพาะยารักษาโรคร้ายแรงบางชนิด และการทำฉายรังสี หรือการทำคีโมสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง มันจะทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างอาการผมร่วงโดยตรง
8.ผมร่วงจากอาการของโรคต่าง ๆ
ผมร่วงก็สามารถเกิดขึ้นจากอาการข้างเคียงของโรคต่าง ๆ ได้ส่วนมากจะเป็นผลข้างเคียงจากโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคไต โรคไทรอยด์ โรคซิฟิลิส โรค SLD เป็นต้น หากพบอาการผมร่วมควบคู่กับโรคต่าง ๆ เหล่านี้ควบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไข
วิธีป้องกันการเกิดผมร่วงจากชีวิตประจำวัน
สำหรับวิธีการป้องกันอาการผมร่วงนั้นมีหลายปัจจัยด้วยกันโดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคนที่ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องอาหารการกิน ควรอาหารที่มีวิตามินหรือแร่ธาตุต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อหนึ่งมื้อให้มากที่สุด เพื่อให้ร่างกายนำสารอาหารที่ได้ไปใช้กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะเส้นผมที่ต้องการวิตามิน E และกลุ่มวิตามิน B5 มากที่สุดเพราะเป็นอาหารหลักของเส้นผม, การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผมควรเลือกแชมพูและครีมนวดที่มีคุณภาพ และปราศจากสารเคมีต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อเส้นผมได้เช่น สารซิลิโคน, SLS, พาราเบน และแอลกอฮอล์ สารเคมีทั้ง 4 ตัวนี้มีส่วนในการเกิดโรคหรืออาการเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะโดยตรงซึ่งคนใหญ่จะยังไม่รู้ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมการจัดแต่งทรงผม สำหรับคนที่ชอบทำสีผม-ดัดผม-ยืดผม ควรมีช่วงเวลาให้เส้นผมได้ฟื้นฟูตัวเอง หากคุณทำกิจกรรมเหล่านี้ถี่เกินไปจนเส้นผมและหนังศีรษะไม่มีจังหวะให้ฟื้นตัวละก็ เตรียมรับมือกับปัญหาการขาดหลุดร่วงได้เลย
มาถึงตรงนี้หลายคนคงได้ทราบกันดีแล้วว่าอาการผมร่วงเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง ถ้าให้ดีคุณผู้อ่านลองสังเกตดูให้ดีว่ามีอาการอะไรที่ผิดปกติกันเส้นผมของคุณบ้าง อาหารการกินครบถ้วนหรือไม่ ที่สำคัญการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผมควรสังเกตให้ดี เกี่ยวกับสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยงในข้างต้นแล้วชีวิตคุณจะห่างไกลจากอาการผมร่วงได้แน่นอน
ผมร่วงอาจเกิดจากโรคอื่นๆ เช่น โรค เอสแอลอี หรือโรคเรื้อรังบางอย่าง เช่น ไทรอยด์ ซิฟิลิส โรคตับ โรคไตทั้งนี้ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้แนะนำข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ว่า ควรทำความสะอาดเส้นผม และผิวหนังของศีรษะอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรเกา หรือขยี้หนังศีรษะแรงจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกับหนังศีรษะ เช่น การย้อม ทำสี ดัด หลีกเลี่ยงการดึงหรือถอนผมเล่น หลีกเลี่ยงความเครียด เพราะจะทำให้กระตุ้นอาการผมร่วงมากขึ้น